วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บทที่ 1 คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวัน

เผยแพร่เมื่อ 6 ต.ค. 2012
ผลงานชิ้นนี้ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของ วิชา คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวันเท่านั้น ! credit : South-east Asia University


คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจําวัน

 รูปภาพ
คอมพิวเตอร์ในประเทศไทยเริ่มมีความสำคัญมากขึ้น ตลาดกว้างขึ้น ราคาถูกลงและมีประสิทธิภาพดีขึ้น ความสำคัญของคอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวันจะเข้ามาเกี่ยวข้องกับการอำนวยความสะดวกและสร้างสรรค์งานในชีวิตแห่งการทำงานในอนาคต ซึ่งขึ้นอยู่กับคนใช้ว่าต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยเหลือในด้านใด พวกออกแบบก็ต้องการใช้โปรแกรมการสร้างภาพ พวกทำงานเอกสารก็ต้องใช้โปรแกรมเกี่ยวกับสำนักงาน แต่สำหรับเด็ก ๆ ไม่เจาะจงว่าจะฝึกฝนโปรแกรมใด เพียงแต่ให้มีความเข้าใจ และให้ความสำคัญกับคอมพิวเตอร์ และสำหรับเด็ก ๆ ที่โตพอสมควรก็ควรจะฝึกฝนเรื่องอินเตอร์เน็ต และการส่ง การรับE-Mail
สิ่งที่ต้องบอกไว้อีกประการหนึ่งคือ คอมพิวเตอร์เป็นศาสตร์อย่างหนึ่ง การเรียนรู้และเข้าใจต้องผ่านการฝึกฝนพอสมควร การเรียนคอมพิวเตอร์แล้วไม่ได้ฝึกฝนด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องก็อาจทำให้ลืมเลือนไปได้และก็จะไม่เกิดประโยชน์อะไร ดังนั้นจึงต้องมีความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ เข้าใจ และฝึกฝนติดตามเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ต่อไปอย่างต่อเนื่อง ทำให้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน
บทบาทและประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ในด้านต่างๆ
  1. งานธุรกิจ เช่น บริษัท ร้านค้า ห้างสรรพสินค้า ตลอดจนโรงงานต่างๆ ใช้คอมพิวเตอร์ในการทำบัญชี งานประมวลคำ และติดต่อกับหน่วยงานภายนอกผ่านระบบโทรคมนาคม นอกจากนี้งานอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ก็ใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยในการควบคุมการผลิต และการประกอบชิ้นส่วนของอุปกรณ์ต่างๆ เช่น โรงงานประกอบรถยนต์ ซึ่งทำให้การผลิตมีคุณภาพดีขึ้นบริษัทยังสามารถรับ หรืองานธนาคาร ที่ให้บริการถอนเงินผ่านตู้ฝากถอนเงินอัตโนมัติ ( ATM ) และใช้คอมพิวเตอร์คิดดอกเบี้ยให้กับผู้ฝากเงิน และการโอนเงินระหว่างบัญชี เชื่อมโยงกันเป็นระบบเครือข่าย
  2. งานวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และงานสาธารณสุข สามารถนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในนำมาใช้ในส่วนของการคำนวณที่ค่อนข้างซับซ้อน เช่น งานศึกษาโมเลกุลสารเคมี วิถีการโคจรของการส่งจรวดไปสู่อวกาศ  หรืองานทะเบียน การเงิน สถิติ และเป็นอุปกรณ์สำหรับการตรวจรักษาโรคได้ ซึ่งจะให้ผลที่แม่นยำกว่าการตรวจด้วยวิธีเคมีแบบเดิม และให้การรักษาได้รวดเร็วขึ้น
  3. งานคมนาคมและสื่อสาร ในส่วนที่เกี่ยวกับการเดินทาง จะใช้คอมพิวเตอร์ในการจองวันเวลา ที่นั่ง ซึ่งมีการเชื่อมโยงไปยังทุกสถานีหรือทุกสายการบินได้ ทำให้สะดวกต่อผู้เดินทางที่ไม่ต้องเสียเวลารอ อีกทั้งยังใช้ในการควบคุมระบบการจราจร เช่น ไฟสัญญาณจราจร และ การจราจรทางอากาศ หรือในการสื่อสารก็ใช้ควบคุมวงโคจรของดาวเทียมเพื่อให้อยู่ในวงโคจร ซึ่งจะช่วยส่งผลต่อการส่งสัญญาณให้ระบบการสื่อสารมีความชัดเจน
  4. งานวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม สถาปนิกและวิศวกรสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบ หรือ จำลองสภาวการณ์ ต่างๆ เช่น การรับแรงสั่นสะเทือนของอาคารเมื่อเกิดแผ่นดินไหว โดยคอมพิวเตอร์จะคำนวณและแสดงภาพสถานการณ์ใกล้เคียงความจริง รวมทั้งการใช้ควบคุมและติดตามความก้าวหน้าของโครงการต่างๆ เช่น คนงาน เครื่องมือ ผลการทำงาน
  5. งานราชการ เป็นหน่วยงานที่มีการใช้คอมพิวเตอร์มากที่สุด โดยมีการใช้หลายรูปแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบทบาทและหน้าที่ของหน่วยงานนั้นๆ เช่น กระทรวงศึกษาธิการ มีการใช้ระบบประชุมทางไกลผ่านคอมพิวเตอร์ , กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อเชื่อมโยงไปยังสถาบันต่างๆ , กรมสรรพากร ใช้จัดในการจัดเก็บภาษี บันทึกการเสียภาษี เป็นต้น
  6. การศึกษา ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์ทางด้านการเรียนการสอน ซึ่งมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยการสอนในลักษณะบทเรียน CAI หรืองานด้านทะเบียน ซึ่งทำให้สะดวกต่อการค้นหาข้อมูลนักเรียน การเก็บข้อมูลยืมและการส่งคืนหนังสือห้องสมุด 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น